วันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

โครงงาน




โครงงาน ชั้นวางรองเท้าจากลังกระดาษ
Shoe Rack from paper


คณะผู้จัดทำ
           ด.ญ. ศิริวรรณ  ชำนาญหล่อ     ม.3/12 เลขที่ 11
           ด.ญ. จุรีพร ขันทะคุณ               ม.3/12เลขที่ 14
           ด.ญ. ปานชีวา  วงศ์ไชย           ม.3/12 เลขที่ 15
           น.ส. อัจฉริยา   มานิตย์             ม.3/12 เลขที่ 33
           ด.ญ. ปุณยนุช  เผ่ากันทะ         ม.3/12 เลขที่ 45
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/12



ครูที่ปรึกษา
ครูศศิร์อร  ศักดิ์กิตติพงศา

โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของ รายวิชา เทคโนโลยี 3 ง23102
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ปีการศึกษา 2559



โครงร่างของโครงงาน ชั้นวางรองเท้าจากลังกระดาษ


ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
        โครงงานเรื่องนี้มีที่มาจากการต้องการกำจัดปัญหาในชุมชน ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ และนำมาทำเป็นประโยชน์ โดยการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เองและนำมาใช้เองด้วย โดยเราเลือกปัญหาที่มีลังกระดาษมากมายจากร้านค้าหรือลังจากไปรษณีย์ ลังห่อของขวัญ มาทำที่วางรองเท้าจากลังกระดาษง่ายๆ ใช้เองในบ้าน
       จากการที่เราได้ทำที่วางรองเท้าจากลังกระดาษ พวกเราสามารถลดปัญหาลังกระดาษที่มีมากมาย ไปสร้างประโยชน์ในทางอื่น ที่นอกเหนือจากการนำไปขาย ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเฟอร์นิเจอร์แพงๆ เพื่อมาใส่รองเท้าของเรา

วัตถุประสงค์
1.      ประดิษฐ์ที่วางรองเท้าจากลังกระดาษที่มีมากมาย(นอกเหนือการขาย)
2.      เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3.      เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า
        1.สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย
        2.สามารถนำสิ่งประดิษฐ์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง

เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
        1.อินเตอร์เน็ต
        2. ลังกระดาษ
        3. เทปกาว
        4. กรรไกร
        5. กระดาษ
           
วิธีการดำเนินการศึกษา
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
        ปัญหา คือ การที่เรามีลังกระดาษในชุมชนที่มากมาย
        แนวทางการแก้ปัญหา คือ นำลังกระดาษเหล่านั้น มาทำเป็นที่วางรองเท้าด้วยตัวเอง สามารถตกแต่งได้ตามใจชอบ และที่สำคัญไม่ต้องเสียเงินมาก

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
1. การวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการด้วยชุดคำถาม 5w1h
         1.1) ปัญหาหรือความสนองความต้องการคืออะไร (what)
          - ต้องการนำลังกระดาษที่มีมากมาย มาทำที่วางรองเท้า
         1.2) ปัญหาหรือสนองความต้องการเกิดขึ้นกับใคร (who)
          - คนในชุมชน
          1.3) ปัญหาหรือความสนองความต้องการเกิดขึ้นที่ไหน (where)
          - ชุมชน
         1.4) ปัญหาหรือความสนองความต้องการเกิดขึ้นเมื่อไร (when)
          - เมื่อพบว่าชุมชนไม่นำลังกระดาษมาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากกว่านี้
         1.5) เพราะเหตุใดจึงต้องแก้ปัญหาหรือความสนองความต้องการ
          - ต้องการนำของที่มีอยู่นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้
         1.6) จะแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างไร (how)
          - นำลังกระดาษมาทำที่วางรองเท้า
2. ข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
         2.1 รูปแบบที่วางรองเท้า
      รูปแบบในการทำนั้นต้องแปลกใหม่ มีรูปทรงที่ใช้งานได้เยอะๆ เหมาะกับรูปทรงของรองเท้า ถนอมรองเท้าไม่ให้พัง และตกแต่งให้เข้ากับสีรองเท้า ซึ่งมีทั้ง รูปแบบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม
         2.2 สร้างวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เพื่อเป็นทางเลือกในการออกแบบ
ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
        ที่วางรองเท้าจากลังกระดาษนั้น เราต้องคำนึงถึง พื่นที่ในการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค้า ถนอมรูปทรงรองเท้า ไม่เกะกะมากจนเกินไป และ มีรูปทรงแปลกใหม่
        จากวิธีการทั้ง 2 แบบ เมื่อนำมาวิเคระห์ โดย คำนึงถึงจุดประสงค์ ได้ดังนี้ คือ
        วิธีการที่ 1 ทรงสามเหลี่ยม มีพื้นที่ในการใช้งานเยอะ มีรูปทรงที่แปลกใหม่ อีกทั้งสามเหลี่ยมจากการมองทางด้านหน้า ทำให้เรารู้ว่ารูปทรงมันถนอมทรงรองเท้าของเรา
         วิธีการที่ 2 ทรงสี่เหลี่ยม มีพื้นที่ในการใช้งานมาก แต่รูปทรงไม่แปลกใหม่ อีกทั้งไม่มีรูปทรงที่จะถนอมรองเท้าของเรา
        สรุปผลการวิเคราะห์ เลือกวิธีการที่ 1 เพราะ ตรงตามจุดประสงค์ท่กล่าวมา

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
1. การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด
2. การลงมือสร้าง
         2.1 การตัดกระดาษได้ตามขนาดที่ต้องการ
         2.2 แปะเทปสี โดยเว้นขอบและขลิบไว้
         2.3 พับกระดาษลังตามที่เราพับไว้ และติดเทปที่ขลิบไว้
         2.4 ปิดเทปส่วนที่ ไม่ติดกัน
         2.5 ทำอีก 4 อันแล้ว ประกอบด้วยกันให้หมด

แผนปฏิบัติการ
วัน เดือน ปี
1.  ศึกษาเอกสาร
2.  เสนอเค้าโครงต่อที่ปรึกษา
3.  ลงมือปฏิบัติ
4.  วิเคราะห์ข้อมูล
5.  เขียนรายงาน
26 มกราคม 2560
26 มกราคม 2560
26 มกรา - 15 กุมภา 2560
16 กุมภาพันธ์ 2560
17 กุมภาพันธ์ 2560


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1. ประดิษฐ์ที่วางรองเท้าจากลังกระดาษที่มีมากมาย(นอกเหนือการขาย)
        2. ใช้ทรัพยากรได้เกิดประโยชน์สูงสุด
        3. ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

เอกสารอ้างอิง
1.https://daily.rabbit.co.th/diy       
2.http://www.pt-pack.com.html
กระดาษลูกฟูก คือ กระดาษที่ประกอบด้วยแผ่นปะหน้า 2 แผ่นและมีลอนกระดาษลูกฟูกอยู่ตรงกลาง ที่นิยมใช้กัน โดยทั่วไปจะมี 3 ประเภท คือ
        1.  กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น (Single Face)
ประกอบไปด้วย กระดาษ แผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่อง offset ลอนมาตรฐาน :   B, C, E 
        2.   กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Single wall)
ประกอบไปด้วย  กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก  1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น  มักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมากนัก
ลอนมาตรฐาน :   B, C, E
        3.   กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น (Double  wall)
ประกอบไป ด้วย  กระดาษแผ่นเรียบ 3  แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน เพื่อประโยชน์ทางด้านรับแรงกระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก
ลอนมาตรฐาน :   BC (ลอนB จะอยู่ด้านนอก ส่วนลอนC จะอยู่ด้านใน)  



 บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำโครงงานตามหลักของกระบวนการเทคโนโลยี ซึ่งมีหลักทั้งหมด 5 หลัก    โดยทำการหาปัญหาของชุมชนหนึ่งที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งเยาวชนอย่างเรา ควรจะสามารถปฏิบัติได้ และ เห็นความสำคัญ ของปัญหา ซึ่งปัญหาที่พบคือ กระดาษลังจากการขายขนม หรือการส่งพัสดุนั้นมีมากมาย แต่ทุกคนจะตัดสินใจใช้มันในทางที่เกิดประโยชน์ด้านการเงิน คือการำมันไปขายและได้เงินมา แต่เราจะไม่ขายเราจะนำมันไปประดิษฐ์เป็นชั้นวางรองเท้าสำหรับคนในบ้าน และนั่นก็คือการแก้ปัญหากระดาษลังที่มีมากมาย
         ผลการวิจัยพบว่า ที่วางรองเท้าจากลังกระดาษนั้น สามารถทำได้ง่ายๆในทุกเพศทุกวัยแต่ในวัยเด็กก็ต้องมีผู้ปกครองช่วยเหลือด้วย และการทำเราสามารถนำความคิดของเรามาประยุกต์ใช้กับการประดิษฐ์ ครั้งนี้ได้อีกด้วย และการทำโครงงานครั้งนี้คณะผู้จัดทำ ก็ได้ทำตามกระบวนการเทคโนโลยีทุกขั้นตอน โดยการทำนั้นก็ได้รับคำปรึกษาจากคุณครูด้วย และการแก้ไขปัญหากระดาษลังที่มีมากมายนั้นก็สามารถช่วยลดลงได้ แต่การที่จะทำที่วางรองเท้านั้นต้องอาศัยความแข็งแรงของกระดาษลัง และต้องคอยทำความสะอาดอยู่เสมอ

      กิตติกรรมประกาศ

          โครงงานการออกแบบตามหลักเทคโนโลยี เรื่อง ชั้นวางรองเท้าจากลังกระดาษ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาและความช่วยเหลืออย่างสูงยิ่งครูศศิอร ศักดิ์กิตติพงศา ครูที่ปรึกษา ที่ได้กรุณาให้คำปรึกษาแนะนำ ตรวจสอบ แก้ไข ข้อพกพร่องทุกขั้นตอนของการจัดทำโครงงาน รวมถึง การให้กำลังใจในการทำโครงงานนี้ ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ปราศจากข้อผิดพลาด คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง  
         ขอขอบพระคุณ บิดา มารดา เพื่อนนักเรียน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ไม่ได้กล่าวนามไว้ ณ ที่นี้ ที่ได้ให้กำลังใจและมีส่วนช่วยเหลือให้โครงงานฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ท้ายที่สุด คณะผู้จัดทำโครงงานหวังว่าโครงงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้สนใจไม่มากก็น้อย
คณะผู้จัดทำ

                            


บทที่ 1
บทนำ

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 
       โครงงานเรื่องนี้มีที่มาจากการต้องการกำจัดปัญหาในชุมชน ไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ และนำมาทำเป็นประโยชน์ โดยการประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่เองและนำมาใช้เองด้วย โดยเราเลือกปัญหาที่มีลังกระดาษมากมายจากร้านค้าหรือลังจากไปรษณีย์ ลังห่อของขวัญ มาทำที่วางรองเท้าจากลังกระดาษง่ายๆ ใช้เองในบ้าน
       จากการที่เราได้ทำที่วางรองเท้าจากลังกระดาษ พวกเราสามารถลดปัญหาลังกระดาษที่มีมากมาย ไปสร้างประโยชน์ในทางอื่น ที่นอกเหนือจากการนำไปขาย ทำให้เราไม่ต้องเสียเงินไปซื้อเฟอร์นิเจอร์แพงๆ เพื่อมาใส่รองเท้าของเรา

วัตถุประสงค์ 
          1.ประดิษฐ์ที่วางรองเท้าจากลังกระดาษที่มีมากมาย(นอกเหนือการขาย)
          2.เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          3.เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เอกสารอ้างอิง
กระดาษลูกฟูก
 กระดาษลูกฟูก คือ กระดาษที่ประกอบด้วยแผ่นปะหน้า 2 แผ่นและมีลอนกระดาษลูกฟูกอยู่ตรงกลาง ที่นิยมใช้กัน โดยทั่วไปจะมี 3 ประเภท คือ



       1.  กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น (Single Face)
ประกอบไปด้วย กระดาษ แผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่อง offset ลอนมาตรฐาน :   B, C, E
      

2.   กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Single wall)
ประกอบไปด้วย  กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก  1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น  มักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมากนัก ลอนมาตรฐาน :   B, C, E


 3.   กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น (Double  wall)
ประกอบไป ด้วย  กระดาษแผ่นเรียบ 3  แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน เพื่อประโยชน์ทางด้านรับแรงกระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก
ลอนมาตรฐาน :   BC (ลอนB จะอยู่ด้านนอก ส่วนลอนC จะอยู่ด้านใน)

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
1. การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
2. การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
3. การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
4. การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
5. การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น
6. การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น กาเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า



บทที่ 3
วิธีการศึกษาและเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
วิธีการศึกษา
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
        ปัญหา คือ การที่เรามีลังกระดาษในชุมชนที่มากมาย
        แนวทางการแก้ปัญหา คือ นำลังกระดาษเหล่านั้น มาทำเป็นที่วางรองเท้าด้วยตัวเอง สามารถตกแต่งได้ตามใจชอบ และที่สำคัญไม่ต้องเสียเงินมาก

ขั้นที่ 2 รวบรวมข้อมูล
1. การวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการด้วยชุดคำถาม 5w1h
         1.1) ปัญหาหรือความสนองความต้องการคืออะไร (what)
          - ต้องการนำลังกระดาษที่มีมากมาย มาทำที่วางรองเท้า
         1.2) ปัญหาหรือสนองความต้องการเกิดขึ้นกับใคร (who)
          - คนในชุมชน
       
         1.3) ปัญหาหรือความสนองความต้องการเกิดขึ้นที่ไหน (where)
          - ชุมชน
         1.4) ปัญหาหรือความสนองความต้องการเกิดขึ้นเมื่อไร (when)
          - เมื่อพบว่าชุมชนไม่นำลังกระดาษมาทำสิ่งที่เป็นประโยชน์มากกว่านี้
         1.5) เพราะเหตุใดจึงต้องแก้ปัญหาหรือความสนองความต้องการ
          - ต้องการนำของที่มีอยู่นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์มากกว่านี้
         1.6) จะแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการอย่างไร (how)
          - นำลังกระดาษมาทำที่วางรองเท้า
2. ข้อมูลที่จำเป็นในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
         2.1 รูปแบบที่วางรองเท้า
      รูปแบบในการทำนั้นต้องแปลกใหม่ มีรูปทรงที่ใช้งานได้เยอะๆ เหมาะกับรูปทรงของรองเท้า ถนอมรองเท้าไม่ให้พัง และตกแต่งให้เข้ากับสีรองเท้า ซึ่งมีทั้ง รูปแบบสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม



 2.2 สร้างวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เพื่อเป็นทางเลือกในการออกแบบ

                    

วิธีการที่ 1 ทรง 3 เหลี่ยม                                        วิธีการที่ 2 ทรง 4 เหลี่ยม

ขั้นที่ 3 เลือกวิธีการ
        ที่วางรองเท้าจากลังกระดาษนั้น เราต้องคำนึงถึง พื่นที่ในการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค้า ถนอมรูปทรงรองเท้า ไม่เกะกะมากจนเกินไป และ มีรูปทรงแปลกใหม่
        จากวิธีการทั้ง 2 แบบ เมื่อนำมาวิเคระห์ โดย คำนึงถึงจุดประสงค์ ได้ดังนี้ คือ
        วิธีการที่ 1 ทรงสามเหลี่ยม มีพื้นที่ในการใช้งานเยอะ มีรูปทรงที่แปลกใหม่ อีกทั้งสามเหลี่ยมจากการมองทางด้านหน้า ทำให้เรารู้ว่ารูปทรงมันถนอมทรงรองเท้าของเรา
         วิธีการที่ 2 ทรงสี่เหลี่ยม มีพื้นที่ในการใช้งานมาก แต่รูปทรงไม่แปลกใหม่ อีกทั้งไม่มีรูปทรงที่จะถนอมรองเท้าของเรา
        สรุปผลการวิเคราะห์ เลือกวิธีการที่ 1 เพราะ ตรงตามจุดประสงค์ท่กล่าวมา

ขั้นที่ 4 ออกแบบและปฏิบัติการ
1.       การออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการโดยละเอียด



2.       การลงมือสร้าง
         2.1 การตัดกระดาษได้ตามขนาดที่ต้องการ
         2.2 แปะเทปสี โดยเว้นขอบและขลิบไว้
         2.3   พับกระดาษลังตามที่เราพับไว้ และติดเทปที่ขลิบไว้
         2.4   ปิดเทปส่วนที่ ไม่ติดกัน
         2.5 ทำอีก 4 อันแล้ว ประกอบด้วยกันให้หมด

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้   
1. ลังกระดาษ
2. เทปกาว
3. กรรไกร
4. กระดาษ


บทที่ 4
บทที่ 4 ผลการศึกษาและอภิปรายผลการศึกษา


ผลการศึกษา
จากการที่ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับชั้นวางรองเท้าจากกระดาษลังเพื่อทำโครงงาน และหลังจากการที่ได้ศึกษาข้อมูลแล้วผู้จัดทำได้รับความรู้ดังนี้
          1.ได้รับความรู้ในเรื่องการนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
          2.ได้รับความรู้ทางการงานอาชีพ
3.ได้รู้จักชนิดต่างๆของกระดาษลัง ว่าควรใช้แบบใด
4.ได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
5.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง (ที่นักศึกษาได้ทำการค้นคว้า)
1. การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด
2. การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การนำกระดาษที่ใช้แล้วไปผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อทำเป็นกระดาษแข็ง เป็นต้น ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้
3. การบูรณซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก
4.  การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน เช่น การบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนหรือโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น ก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ส่วนการฟื้นฟูเป็นการรื้อฟื้นธรรมชาติให้กลับสู่สภาพเดิม เช่น การปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูความ สมดุลของป่าชายเลนให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นต้น
5.  การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงแดดแทนแร่เชื้อเพลิง การใช้ปุ๋ยชีวภาพแทนปุ๋ยเคมี เป็นต้น6. การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น เฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง การจัดทำแนวป้องกันไฟป่า



บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา
 สรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ
สรุปผลการศึกษา
          ในการจัดทำโครงงานชั้นวางรองเท้าจากลังกระดาษ ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์ ในการศึกษาครั้งนี้ทำให้ตระหนักได้ว่าในชีวิตประจำวันของเรานั้นมีของเหลือใช้มากมายที่เราอาจจะไม่เคยเห็นค่า การศึกษาเพื่อทำโครงงานชิ้นนี้จึงได้ให้ผู้ศึกษาได้มองเห็นประโยชน์ของสิ่งเหลือใช้และนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 ประโยชน์ที่ได้รับ
          1.ได้รับความรู้ในเรื่องการนำของเหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์
          2.ได้รับความรู้ทางการงานอาชีพ
          3.ได้รู้จักชนิดต่างๆของกระดาษลัง ว่าควรใช้แบบใด
          4.ได้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
          5.มีความรู้ความเข้าใจในเรื่อง
ข้อเสนอแนะ
          1.ควรจะมีสื่อในการสอนทำสิ่งประดิษฐ์
          2.ควรมีการจัดการอบรมเกี่ยวกับสิ่งของเหลือใช้



เอกสารอ้างอิง

กิตติยาพร อมรรัตน์. 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560. การทำชั้นวางรองเท้าจากลังกระดาษ. สืบค้นจาก ttps://daily.rabbit.co.th/diyแหล่งที่มาที่ทำชั้นวางรองเท้าจากลังกระดาษ.
กลุ่มบริษัทอินเตอร์ . 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560.ข้อมูลลังกกระดาษ. สืบค้น http://inter-group.co.th/about-us/ แหล่งที่มาข้อมูลลังกระดาษ.

1.https://daily.rabbit.co.th/diy       
2.http://www.pt-pack.com.html
กระดาษลูกฟูก คือ กระดาษที่ประกอบด้วยแผ่นปะหน้า 2 แผ่นและมีลอนกระดาษลูกฟูกอยู่ตรงกลาง ที่นิยมใช้กัน โดยทั่วไปจะมี 3 ประเภท คือ
        1.  กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น (Single Face)
ประกอบไปด้วย กระดาษ แผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่อง offset ลอนมาตรฐาน :   B, C, E 
        2.   กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Single wall)
ประกอบไปด้วย  กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก  1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น  มักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมากนัก
ลอนมาตรฐาน :   B, C, E
        3.   กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น (Double  wall)
ประกอบไป ด้วย  กระดาษแผ่นเรียบ 3  แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C  เพื่อประโยชน์ทางด้านรับแรงกระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก
ลอนมาตรฐาน :   BC (ลอนจะอยู่ด้านนอก ส่วนลอนจะอยู่ด้านใน)